วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


วันอังคารที่ 10  กรกฎาคม 2555

ความรู้ที่ได้รับ

                - มีการนำเสนองานที่อาจารย์สั่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  2 ชิ้นงาน
                -  ของเล่นวิทยาศาสตร์  ที่เด้กสามารถเล่นเองได้ตามมุมวิทยาศาสตร์





                                                                     สกรีกระโดด



                -  ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ใช้สอนให้เด็กทำได้



                                                                 แว่นขยายทำเอง


ข้อเสนอแนะของอาจารย์

           1.  ให้ทำนักสกีมาเพิ่ม
           2.  ให้ทำแผ่นรองมา  เพื่อใช้รองในการเล่นนักสกี
           3.  ให้หามาด้วยว่าของเล่นที่นำเสนอมันเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร

งานที่สั่ง

           ให้นำวิธีทำพร้อมรูปภาพขั้นตอนการทำมาส่ง  เพื่อที่จะได้รวบรวมเป็นเล่ม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555

ความรู้ที่ได้รับ

-   ดูวีดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก

-   ฝนเกิดจากอะไร
           ฝนตกเกิดจาก น้ำโดนความร้อนของแสงจากดวงอาทิตย์หรือความร้อนอื่นใดที่ใช้ในการต้มน้ำ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน พอมากเข้าอากาศไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านี้ต่อไปได้ น้ำก็จะหล่นลงมายังผืนโลกให้เราเรียกขานกันว่าฝนตก

-   การเปลี่ยนสถานะของน้ำ
            วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช
          
การระเหย       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นก๊าซ โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆได้รับพลังงานหรือความร้อน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำ
การระเหิด       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นก๊าซ โดยไม่ผ่านสถานะการเป็นของเหลว ได้แก่ น้ำแข็งแห้ง เปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การควบแน่น
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากก๊าซ กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อก๊าซนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ ไอน้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ
การแข็งตัว
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็งนั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน
การตกผลึก
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง แต่โดยทั่วไปแล้ว ตกผลึกนั้นนิยมใช้ กับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทางทางเคมี เสียมากกว่า เพราะโดยทั่วไปใช้กับสารประกอบหรือวัตถุ ที่ไม่สามารถหลอมเหลว หรือ ละลาย กลับเป็นของเหลวได้อีก
การหลอมเหลว หรือการละลาย
       คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อของแข็งนั้นๆ ได้รับความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำแข็ง เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ
* งานที่สั่ง *

          1. เมื่อได้หน่วยการเรียนรู้จากโรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม  แล้วให้ทำเป็น 
Mind Map  ว่าเราจะสอนอะไร   สิ่งที่จะต้องมีคือ  ภาพ  การทดลอง  และยกตัวอย่าง (งานกลุ่ม)
          2. ทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด้กสามารถเล่นเองได้ในมุมประสบการณ์ (จับคู่ 2 คน)
               - อุปกรณ์จะต้องเป็นเศษวัสดุเหลือใช้  
               - ถ่ายรูปเป็นขั้นตอน
          3. หาวิธีการทำของเล่นวิทยาศาสตร์มา 1 อย่าง   เพื่อที่จะนำมาสอนเด็ก (จับคู่ 2 คน)





             

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


สรุปองค์ความรู้ที่เรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 19  มิถุนายน  2555

ความรู้ที่ได้รับ
        
            - อาจารย์ได้ตั้งคำถามให้เราตอบ   คำว่า " รู้ "  มีอะไรบ้าง  
                     -  เรียนรู้
                     -  รับรู้
                     -  ความรู้
                     -  ผู้รู้
                     -  รอบรู้
                     -  ใฝ่รู้
             สิ่งเหล่านี้เราจะทำอย่างไร  เพื่อที่จะแยกแยะความแตกต่างได้   คือ  การแยกประเภท  เช่น  การแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ  นามกับกริยา     นาม  ก็คือ  ความรู้ , ผู้รู้         กริยา  ก็คือ   เรียนรู้ , รับรู้ , รอบรู้  และใฝ่รู้   เป็นต้น
             
             - การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   สามารถแยกความสำคัญออกเป็น
                      1.  การจัดประสบการณ์
                      2.  วิทยาศาสตร์
                      3.  เด็กปฐมวัย

สามารถแยกแยะรายละเอียดได้ดังนี้

               1.  การจัดประสบการณ์
                            -  หลักการจัดประสบการณ์
                            -  ทฤษฎี
                            -  กระบวนการจัดประสบการณ์
                            -  เทคนิควิธีการ
                            -  สื่อ / จัดสภาพแวดล้อมสนับสนุน
                            -  การจัดประสบกสรณ์
                            -  วิธีการประเมินผล

               2.  วิทยาศาสตร์
                            -  ทักษะทางวิทยาศาสตร์  1. ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน
                                                                               การสังเกต
                                                                               การจำแนกประเภท
                                                                               การวัด
                                                                               การสัมพันธภาพสเปส
                                                                               การจัดกระทำหรือสื่อความหมาย
                                                                               การลงความเห็นจากข้อมูล
                                                                       2. ขั้นผสม
                                                                                   กำหนดและควบคุมตัวแปร
                                                                                   ตั้งสมมติฐาน
                                                                                   กำหนดนิยาม
                                                                                   ทดลอง
                                                                                   สรุป

                            -  สาระทางวิทยาศาสตร์       1.  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
                                                                         2.  เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
                                                                         3.  เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
                                                                         4.  เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ  รอบตัวเด็ก

              3.  เด็กปฐมวัย
                            -  พัฒนาการ     1.  สติปัญญา 
                                                                ความคิด (คิดเชิงเหตุผล , คิดเชิงความคิด
                                                                                          สร้างสรรค์)
                                                                ภาษา
                                                      2.  วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
                                                                การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ
                                                                                                   ( ตา  หู  จมูก  ลิ้น  และกาย )

* งานที่สั่ง *
             
          งานชิ้นที่ 1   ให้ไปหาพัฒนาการทางสติปัญญาที่เด่นที่สุด  ที่เป็นวิทยาศาสตร์  ของเด็กอายุ 5 ปี
          งานชิ้นที่ 2   ให้จับกลุ่ม 4-5 คน   ดูจากสาระทางวิทยาศาสตร์เลือกมา 1 หัวเรื่อง  แล้วแตกเนื้อหา  5 วันในการจัดกิจกรรม    และไปหามาว่า  " วันวิทยาศาสตร์ตรงกับวันที่เท่าไหร่ "